ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกสังคมศึกษา ผลงานนักเรียนของ นางสาวศุภมาศ บุญเอี่ยม ได้เลยค่ะ

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

สถาบันทางสังคม

              เมื่อคนมาอาศัยอยู่รวมกันและสร้างความสัมพันธ์ขึ้นระหว่างกัน ความสัมพันธ์เหล่านั้นจะเชื่อโยงกันไปมาเสมือนเป็นแบบแผนที่มั่นคง  หากจัดแบ่งความสัมพันธ์เหล่านี้ออกเป็นเรื่องๆ ก็จะเห็นกลุ่มความสัมพันธ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เราเรียกกลุ่มความสัมพันธ์ในเรื่องหนึ่งๆว่า สถาบันทางสังคม(social institution)ซึ่งจะทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของสมาชิกในสังคม
            สถาบันทางสังคม หมายถึง ยอดรวมของรูปแบบความสัมพันธ์ กระบวนการ และวัสดุอุปกรณ์ที่สร้างขึ้น  เพื่อสนองประโยชน์สำคัญๆทางสังคมในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทุกสถาบันจึงมีจารีตประเพณี กฎเกณฑ์ ธรรมเนียมปฏิบัติ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ  ของตนเอง เช่น อาคารสถานที่ เครื่องจักรกล อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น
            สถาบันทางสังคมตามนัยแห่งสังคมวิทยานั้น มิใช่จะปรากฏออกมาในรูปที่เป็นทางการ เช่น การอยู่รวมกันเป็นครอบครัวในบ้านแห่งหนึ่ง (สถาบันครอบครัว) ธน.. อ่านเพิ่มเติม


วัฒนธรรมในภูมิภาคต่างๆของไทย

  จากที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่าประเทศไทยมีขนาดใหญ่ มีสภาพภูมิศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันไปตามภูมิภาค จังหวัด และ อำเภอ คนในแต่ละพื้นที่ได้สร้างวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ละได้ประพฤติปฏิบัติสืบกันมานับเป็นระยะเวลานาน จนกลายเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมพื้นบ้านขึ้นมา
วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นมีมากมายและครอบคลุมการดำเนินชีวิตทุกด้านของผู้คนที่อาศัยในท้องถิ่นแห่งนั้นๆ ทั้งทางด้านอาหาร เครื่องแต่งกาย ที่อยู่อาศัย ศิลปะ ศาสนา และลัทธิความเชื่อ ยารักษาโรค ประติมากรรมหัตถกรรม และการดำรงชีวิตตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เป็นต้น
ในที่นี้จะกล่าวได้เพียงตัวอย่างบางด้าน เพื่อนักเรียนใช้เป็นแนวทางในการสืบค้นหาควา..อ่านเพิ่มเติม


คุณลักษณะของพลเมืองดี

   คุณลักษณะของพลเมืองดีที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น  และช่วยจรรโลงให้สังคมประเทศชาติและโลกพัฒนาก้าวหน้า  มีดังนี้
1.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพกฏหมาย
2.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพสิทธิและเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น
3.ต้องเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่มีต่อครอบครัว  ดรงเรียน  ชุมชน  ประเทศชาติ  และสังคมโลก
4.ต้องเป็นบุคคลที่มีเหตุผล  ใจกว้าง  และรับฟังความคิดเห็นของคนบุคคลอื่นเสมอ
5.ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน
6.ต้องเป็นบุคคลที่มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของชุมชน ประเทศชาติ  และสังคมโลก  หรือองค์กรที่ตนสังกัดอยู่  เช่น  ร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชนให้ดีขึ้น  เป็นต้น
7.ต้องเป็นบุคคลที่มีความส ...อ่านเพิ่มเติม



แนวคิดและหลักการสิทธิมนุษยชน

1. แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
1.1 สิทธิมนุษยชนครอบคลุมถึงสิทธิของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา นับแต่ทารกแรกเกิดและมีชีวิต เด็กและเยาวชน สตรี ผู้ยากไร้ คนเร่ร่อน ผู้ใช้แรงงาน คนพิการ คนขอทาน เกษตรกร ผู้ป่วยรวมถึงคนป่วยโรคเอดส์ และคนฝากขัง
1.2 สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของ
1.2.1 ชีวิตทุกชีวิต
1.2.2 สิทธิ เสรีภาพ อิสรภาพ
1.2.3 ความเสมอภาค
1.2.4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
1.2.5 การคุ้มครองตาม
1. รัฐบาล
2. ปฏิญญาสากล
3. กฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ
4. มารฐานสากล
1.3 รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติเรื่องศักดิ์ความเป็นมนุษย์ มีความเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่อง สิทธิมนุษยชน อย่างแยกกันไม่ได้
2. หลักการสำคัญของ สิทธิมนุษยชน
2.1 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิเฉพะของมนุษย์แต่ละคนที่ไม่สามารถโอนให้กันและกันได้
2.2 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ และต้องพึ่งพิงกันและกัน
2.3 สิทธิมนุษยชน เป็นวิถีทางที่นำไปสู่สันติภาพและพัฒนาที่ยั่งยืน
2.4 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่บุคคลพึงมีในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
2.5 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีความเท่าเทียม ...อ่านเพิ่มเติม

รูปแบบของรัฐ

รูปแบบของรัฐ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
รัฐเดี่ยว คือ รัฐที่ศูนย์กลางในทางการเมือง และการปกครองรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเอกภาพไม่ใด้แยกจากกัน มีการใช้อำนาจสูงสุดทั้งภายในและภายนอกโดยองค์กรเดียวกันทั่วดินแดนของรัฐ อำนาจสูงสุดในที่นี้นี้คืออำนาจอธิปไตย
รัฐรวม รัฐคู่ คือ รัฐต่างๆ ที่มีตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไปซึ่งได้รวมตัวกันภายไต้รัฐบาลเดียวกัน หรือ ประมุขเดียวกันโดยที่แต่ละรัฐยังคงมีสภาพเป็นรัฐอยู่อย่างเดิม ประเทศที่เป็นรัฐรวมหรือหลายรัฐที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันจะอยู่ในรูปแบบของ สหรัฐ หรือ สหพันธรัฐ
( รัฐ กับ ชาติ เป็นสิ่งเดียวกัน )
อำนาจแยกไม่ออกจากธรรมชาติของมนุษย์ เพราะอำนาจใช้ในการจัดการองค์การทางสังคม ทุกคนอยู่ภายไต้อำนาจ หน้าที่ของตน  เปลี่ยนจากพฤตินัย มาสู่นิตินัย เช่น การใช้อำนาจของครูต่อนักเรียน นักเรียนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของครู การที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจต่อผู้ไต้บังคับบัญชา ผู้ไต้บังคั... อ่านเพิ่มเติม

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 19 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญและวินิจฉัย ...อ่านเพิ่มเติม


กฎหมายอาญา

กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด ตัวบทที่สำคัญๆ ของกฎหมายอาญาก็คือ ประมวลกฎหมายอาญา นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินั้น เช่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติการพนัน เป็นต้น
ทุกสังคมย่อมมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมนั้นๆ บุคคลใดมีการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ จัดเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงเป็นกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยการกำหนดว่า การกระทำใดเป็นความผิดอา.. อ่านเพิ่มเติม